ขอ ขาเทียม ฟรีได้ที่ไหน คำถามที่ผู้พิการหลาย ๆ คนอาจจะสงสัยแต่รู้หรือไม่ว่าผู้พิการนั้นสามารถทำขาเทียมได้ฟรีที่ โรงพยาบาลบางกรวย โดยที่ขาเทียมนั้น จะทำกับนักกายอุปกรณ์ และคุณหมอเวชศาสตร์ฟื้นฟู
อ่านเนือหา
ทำไมต้องทำขาเทียมกับนักกายอุปกรณ์ ?
เพราะนักกายอุปกรณ์ คือบุคคลกากรทางการแพทย์ถูกขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากายอุปกรณ์
ในการทำขาเทียมนั้นนักกายอุปกรณ์จะต้องศึกษากระบวนการทางกายวิภาคทางการแพทย์ ภาวะของโรค การให้การรักษา กระบวณการวิศวะกรรมและทางเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อปรับใช้ทางกายอุปกรณ์เทียม รวมถึงระบบโครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อ
สิทธิที่ผู้พิการมีในการ ขอขาเทียม
ผู้พิการสามารถเข้ารับบริการ ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับสิทธิการรักษาดังนี้
- ข้าราชการ โดยสิทธิเบิกจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลาง
- ประกันสังคม สามารถทำขาเทียมฟรีได้เช่นกันแต่ว่า จะมีความยุ่งยากหชนิดหน่อย ในกระบวนการ ขอ แต่ผู้พิการไม่ต้องกังวง สามารถปรึกษา เรื่องสิทธิที่ line: @varatmkittclinic ได้เลยว่าเพราะ ประกันสังคมจะมีแบบ ต้องสำรองจ่ายในการทำขาเทียมและไม่ต้องสำรองจ่าย
- บัตรทองสิทธิผู้พิการ
โดย เอกสารที่ต้องใช้ในการลงทะเบียนผู้ป่วยในการทำขาเทียมนั้นมีดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน
- บัตรประจำตัวผู้พิการ (ถ้ามี)
ประเภทของขาเทียม
ขาเทียมเหนือเข่า ขาเทียม สำหรับผู้พิการที่ถูกผ่าตัดขาตั้งแต่เหนือเข่าขึ้นไป
ขาเทียมใต้เข่า ขาเทียม สำหรับผู้พิการ ที่ถูกตัดขาตั้งแต่ใต้เข่าลงมา
ขั้นตอนการทำขาเทียมที่โรงพยาบาลบางกรวย มีดังนี้
- ตรวจประเมิน วางโปรแกรมการรักษา ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำโดยแพทย์เวชกรรมฟื้นฟู เพื่อส่งแบบการรักษา ไปยังนักกายอุปกรณ์ เพื่อ หล่อแบบขาเทียม
- หากผู้พิการจำเป็นต้องเข้าการทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความเเข็งแรงและระบบกระดูกและข้อผู้พิการจะถูกส่งเข้างานกายภาพบำบัด เพื่อรับการรักษาก่อนหล่อแบบขาเทียม
- ทดสอบขาเทียม ปรับแต่ง และ ฝึกการใช้งานขาเทียม โดยนักกายอุปกรณ์
- ส่งมอบขาเทียมให้ผู้พิการ โดยแพทย์เวชกรรมฟื้นฟู และ นักกายอุปกรณ์
การเตรียมความพร้อมก่อนใส่ขาเทียม
ในการใส่ขาเทียมนั้นหลังจากผ่าตัดมาแล้วต้องรอให้แผลหายสนิทเสียก่อนผู้พิการต้องสามารถยืดทรงตัวเองได้โดยขาอีกข้างพยุงน้ำหนักตัวของผู้พิการได้ จากนั้น แพทย์จะทำการประเมินความพร้อมว่า ผู้พิการนั้นพร้อมที่จะใส่ขอเทียมหรือยัง
ข้อควรระวังก่อนใส่ขาเทียม
- ฝึกการบริหารกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวร่างกาย
- ดูแลอวัยวะส่วนที่ต้องต่อเข้ากับขาเทียมให้อยู่ในสภาพที่ดี
- โรคแทรกซ้อน เช่น โรคไต, ปัญหาเกี่ยวกับโรคและการทำงานของหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคอัมพฤกษ์,อัมพาต และ โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น นอกจากนี้ หากยังมีตอขาที่ไม่พร้อมสำหรับการใส่ขาเทียม คือ มีปัญหาตอขาบวม, แข็ง , อักเสบภายใน หรือ มีแผลที่ตอขา จะไม่สามารถรับการใส่ขาเทียมได้