รองช้ำ หรือ พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เป็นอาการที่เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า มักเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยมากจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการบาดเจ็บดังกล่าวมักเกิดจากการบาดเล็ก ๆ น้อย ๆ และสะสมมาเป็นเวลานาน อาจเกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน หรือ อาจเกิดจากการออกกำลังที่ไม่ถูกต้อง
อ่านเนือหา
สาเหตุของรองช้ำ
การอักเสบ ปวดบวม เกิดจากการยืดเกินกว่าปกติของผังผืดใต้ฝ่าเท้า มีอาการคล้ายคลึง กับ อาการ กระดูกส้นเท้างอกผิดปกติ ( Heel Spur Syndrome)
ลักษณะอาการของ รองช้ำ
สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 อาการ ดังนี้
- มีอาการปวดฝ่าเท้าเวลายืนขึ้นหลังจากระยะพัก และจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนักบริเวณส้นเท้าจะเห็นได้ชัดคือ ตอนเช้าเวลาลุกขึ้นยืน และจะก้าวเดินจะรู้สึกปวดฝ่าเท้า และเดินขัดๆเนื่องจากอาการปวดบวม
- เมื่อคลำดูใต้ฝ่าเท้า และ บริเวณส้นเท้าที่จุดยึดผังผืด จะรู้สึกถึงความหย่อนของผังผืดใต้ฝ่าเท้า
- ถ้ามีการเอ็กซ์เรย์ อาจพบกระดูกงอกบริเวณยึดเกาะผังผืดใต้ฝ่าเท้า
- ถ้ามีการลงน้ำหนักที่เท้า หรือ กิจกรรมที่ต้องใช้เท้าในการเดินหรือวิ่งต่อเนื่อง หลังจากเกิดอาการแล้วอาจทำให้ เกิดการฉีกขาดของผังผืดใต้ฝ่าเท้าได้ ซึ่งแปรผันตาม กิจกรรมนั้นๆ
กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรครองช้ำ
แบ่งตามลักษณะทางกายภาพสำหรับโรครองช้ำ
- อุ้งเท้าแบน
- อุ้งเท้าโก่ง
- น้ำหนักตัว
- ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน
- แผ่นไขมันบริเวณส้นเท้าเสื่อมสภาพ
แบ่งตามลักษณะทางชีวกลศาสตร์
- อาการตึงของเอ็นร้อยหวาย
- การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มที่ใช้กดฝ่าเท้าลง
- การบิดออกนอกของฝ่าเท้ามากเกินไป (เท้าแบน)
แบ่งตามสภาพแวดล้อม
- อุบัติเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นกับเท้า
- มีกิจกรรมที่ต้องใช้เท้าในการยืน การเดินหรือวิ่งมากเกินไป เช่น นักวิ่ง นักกีฬาฟุตบอล ครู
- พื้นสัมผัสกับเท้าในเวลายืน เดิน หรือ วิ่ง มีความแข็ง
- การยืน เดิน หรือ วิ่ง เท้าเปล่า
- มีการลงน้ำหนักที่เท้าเป็นเวลานานๆ
- รองเท้าไม่ถูกสุขลักษณะ
การรักษาโรครองช้ำ
- การแช่เท้าในน้ำอุ่น จะสามารถช่วยให้สบายขึ้น
- การใสรองเท้าที่ถูกสุขลักษณะ จะช่วยให้ลดอาการเจ็บของสันเท้าได้เช่นกัน
- การรับประทานยาเพื่อลดอาการอักเสบโดยรับประทานยาต้านการักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ (NSAIDs)
- การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดและการอักเสบ ซึ่งได้แก่การวางแผ่นร้อน การทำอัลตราซาวน์ เป็นต้น