แผลเบาหวาน หรือแผลที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คุณหมอมักคอยกำชับให้ผู้ป่วยเบาหวานระมัดระวังการเกิดแผล โดยเฉพาะการเกิดแผลที่เท้า เพราะแผลในผู้ป่วยเบาหวานจะหายช้ากว่าแผลธรรมดาหรืออาจจะส่งผลให้ โดนตัดขาได้ถ้าดูแลไม่ดี โดยสาเหตุที่ทำให้แผลเบาหวานหายช้า มีหลายปัจจัยได้แก่
- ปลายประสาทเสื่อม ทำให้การรับความรู้สึกเจ็บปวดที่เท้าสูญเสียหรือลดลงไป ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมักไม่หยุดใช้เท้าเนื่องจากขาดความรู้สึกเจ็บทำให้แผลลุกลามและติดเชื้อในที่สุด
- ความผิดปกติของหลอดเลือด เนื่องจากสภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด ตีบหรือการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเหวียนไปหล่อเลี้ยงบริเวณแผลได้เพียงพอทำให้การสมานตัวของแผลเป็นไปได้ช้า
- การติดเชื้อแทรกซ้อน แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดการติดเชื้อร่วมด้วยอยู่เสมอทำให้แผลลุกลามมากขึ้น ยิ่งหากมีภาวะแทรกซ้อนทางประสาทและหลอดเลือดด้วยแล้ว โอกาสที่จะรักษาให้หายยิ่งยากมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้ผู้ป่วยต้องถูกตัดขา
การดูแลรักษา แผลเบาหวาน ที่เท้า
- การรักษาแผลเบื้องต้นด้วยตนเอง
- ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อน เช็ดให้แห้งและใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน ไม่ควรใช้แอลกอฮอลเช็ดทำความสะอาดแผลเพราะแฮลกอฮอลจะไปทำลายเนื้อเยื่อที่แผลได้ แต่สามารถเช็ดทำความสะอาดรอบๆปากแผลได้
- ใช้ผ้าปิดแผลปิดแผลที่ได้รับการทำความสะอาดแล้ว ไม่ควรใช้พลาสเตอร์ปิดที่แผลโดยตรง
- หากแผลมีอาการบวมแดงและมีน้ำเหลืองออกมา แม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บปวด ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว
- การรักษาโดยแพทย์ โดยพิจารณาตามความรุนแรงของอาการ
- การทำแผลที่มีหนองและเนื้อตาย โดยแพทย์จะกรีดระบายหนองออกและตัดเนื้อที่ตายออกการใช้ยาปฎิชีวะนะ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้วินิฉัยและสั่งยา
- การหยุดพักบริเวณแผล พยายามเดินเท่าที่จำเป็นหรือแพทย์จะพิจารณาสั่งทำแผ่นรองเท้าหรือรองเท้าที่ทำขึ้นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบริเวณแผล
- การผ่าตัดหลอดเลือด หากแผลได้รับการวินิฉัยแล้วว่ามีสาเหตุมาจากหลอดเลือดตีบแข็ง ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้ประเมิณพยาธสภาพของโรคและความพร้อมของผู้ป่วยว่สำควรเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่
- การผ่าตัดเท้าทิ้ง จะจำเป็นเมื่อไม่สามารถรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นได้ โดยแพทย์ผู้พิจารณาระดับการตัดเท้า
การป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า
- รักษาความสะอาดของเท้า
-
- ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาด สบู่ และเช็ดให้แห้งโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้ว ทุกวัน
- ตัดเล็บไม่ให้สั้นหรือยาวเกินไป และระวังไม่ให้เกิดแผลระหว่างการตัดเล็บ
- หมั่นตรวจเท้าทุกวัน
-
- ตรวจสอบทั้งด้าบนเท้าและฝ่าเท้าว่ามีแผลหรือไม่
- ตรวจง้ามนิ้วเท้าทุกนิ้วว่ามีแผลหรือเชื้อราหรือไม่
- ตรวจสอบเล็บเท้าว่ามีเล็บขบหรือไม่
- ทาครีมทั่วบริเวณเท้า เว้นบริเวณง้ามนิ้วเท้าไว้ เท้าของผู้ป่วยเบาหวานมักแห้งและแตกได้ง่าย
- สวมถุงเท้าอยู่บ้านทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อรักษาความชุ่มชื่นของเท้าและลดการเสียดสีที่เท้า แนะนำให้กลับตะเข็บถุงเท้าออกมาไว้ด้านนอกเพื่อไม่ให้เท้าเสียดสีกับตะเข็บถุงเท้าและเปลี่ยนถุงเท้าใหม่ทุกวัน
- หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า ทั้งในบ้านและนอกบ้าน
- หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นที่ร้อน
- ตรวจสอบรองเท้าทุกครั้งก่อนสวมใส่ ว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในรองเท้าและรองเท้าอยู่ในสภาพที่ดีเหมาะแก่การสวมใส่
- การเลือกซื้อ รองเท้าเบาหวาน
-
- เลือกซื้อรองเท้าที่มีขนาดเหมาะสมกับเท้า ควรเลือกซื้อรองเท้าที่มีขนาดใหญ่กว่าเท้าจริง ครึ่งหรือหนึ่งเบอร์ หรือเมื่อเมื่อสวมรองเท้าแล้วเหลือพื้นที่บริเวณปลายนิ้วเท้ากับรองเท้าประมาณ 1 หัวแม่โป้งมือ
- ไม่ควรเลือกรองเท้าที่ใหญ่เกินไปเพราะจะทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างเท้ากับรองเท้า
- เลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับรูปเท้า บริเวณด้านหน้าที่ใหญ่ที่สุดของรองเท้าไม่ควรเล็กกว่าส่วนที่ใหญ่ที่สุดของหน้าเท้าเรา
- ไม่ควรเลือกรองเท้าที่บีบบริเวณหน้าเท้าของเรามากเกินไป
- บริเวณด้านหลังของรองเท้าควรแข็งเพื่อประคองกระดูกส้นเท้าอยู่ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
- พื้นรองเท้าไม่ควรแข็งหรือนิ่มเกินไป ทดสอบโดยการงอรองเท้า รองเท้าไม่ควรงอง่ายหรือยากเกินไป
- เลือกสวมใส่รองเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรม
- ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น แผ่นรองเท้าเพื่อกระจายน้ำหนักให้ทั่วฝ่าเท้าลดความเสี่ยงในการเกิดแผล หรือใช้รองเท้าที่ทำขึ้นพิเศษให้เหมาะกับรูปเท้าในกรณีที่รูปเท้ามีความผิดปกติ
- รักษาระดับน้ำในเลือดให้ดีที่สุดและปฎิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
- ควบคุมระดับไขมันในเลือกให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- งดสูบบุหรี่