ในกระบวนการ รักษาแผลเบาหวาน มีหลากหลายวิธีผสมผสานกันไปเพื่อทำให้แผลหายได้ไวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทานยา ทำแผลหรือแม้กระทั้งการใช้กายอุปกรณ์ ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีอาการปลายประสาทเสื่อมทำให้ความรู้สึกที่เท้าลดลงหรือไม่รู้สึกเลย เมื่อเวลาเกิดบาดแผลที่เท้าคนไข้มักจะไม่รู้ตัวและใช้เท้าต่อไปทำให้แผลบริเวณฝ่าเท้ามีขนาดใหญ่ขึ้นและรุกลามไปจนตัดขาได้ กายอุปกรณ์ที่นำมาร่วมรักษาแผลเบาหวานนั้นจะช่วยทำให้แผลหายไวขึ้นหรือป้องกันการขยายขนาดของแผลและลดความเสี่ยงในการเกิดแผลใหม่ อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกให้คนไข้สามารถดำเนินกิจวัตประจำในขณะที่แผลยังไม่สมานตัวดี
หลักการการ รักษาแผลเบาหวาน โดยกายอุปกรณ์
- การกระจายน้ำหนัก เมื่อมีน้ำหนักมากดลงบนจุดใดจุดหนึ่งมากๆก็จะทำผิวหนังของเราเกิดบาดแผลได้ หลักการนี้คือการกระจายน้ำหนักออกไปให้ทั่วๆไม่กดอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้โดยการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัส นั้นหมายถึงการทำอุปกรณ์ให้มีขนาดและรูปร่างที่พอดีกับร่างกายมากที่สุด
- การเปลี่ยนตำแหน่งการลงน้ำหนัก บาดแผลมักจะเกิดขึ้นบริเวณที่มีการลงน้ำหนักมากเป็นเวลานาน เราจึงจะย้ายตำแหน่งที่ลงน้ำหนักไปอยู่บริเวณอื่นที่ไม่มีบาดแผล หรือลงน้ำหนักผิดตำแหน่งอันเรื่องมากจากการผิดรูปของเท้าเราก็จะย้ายตำแหน่งน้ำหนักมาอยู่ที่บริเวณที่เหมาะสมแทน
- การลดการเสียดสี การเลือกใช้วัสดุที่มาสัมผัสกับผิวของเรานั้นก็สำคัญ วัสดุที่มีแรงเสียดสีกับผิวเราน้อยก็จะทำให้ผิวไม่เกิดแผล นอกจากนี้การที่กายอุปกรณ์ที่มีขนาดและรูปร่างเหมาะสมกับร่างกายก็จะไม่เกิดการขยับขณะสวมใส่กายอุปกรณ์ก็จะไม่เกิดการเสียดสีที่ผิวขึ้น
กายอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการรักษาแผลเบาหวาน
1.แผ่นรองเท้า
แผ่นรองเท้านี้จะใส่เข้าไปในรองเท้ารองรับฝ่าเท้าขณะใส่รองเท้า มีทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบเฉพาะรายบุคคล แผ่นรองเท้าจะทำมาจากหลากหลายวัสดุ มีความแข็งและนิ่มแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะอาการของคนผู้ป่วย แผ่นรองเท้าจะถูกทำออกมาให้เข้าพอดีกับรูปเท้าและสัมผัสทั่วทั้งบริเวณฝ่าเท้าทำให้เกิดการกระจายน้ำหนักเท่ากันทั่วทั้งฝ่าเท้า หรือการออกแบบให้เปลี่ยนตำแหน่งการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้า เพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบริเวณที่มีแผล การออกแบบแผ่นรองเท้าและการเลือกใช้วัสดุนักกายอุปกรณ์จะพิจารณาจากอาการของคนไข้เป็นสำคัญ
2.อุปกรณ์ประคองข้อเท้า
อุปกรณ์จะคลุมบริเวณทั่วทั้งเท้าขึ้นไปถึงบริเวณใต้เข่าและจำกัดการเคลื่อนไหว้ของข้อเท้า มีทั้งแบบเฉพาะบุคคลและแบบสำเร็จรูป อุปกรณ์ได้นำเอาหลักการการกระจายน้ำและการเปลี่ยนตำแหน่งการลงน้ำหนักจากเท้ามาที่บริเวณเอ็นหัวเข่าในกรณีที่เท้ามีบาดแผลขนาดใหญ่และไม่สามารถรับน้ำหนักที่เท้าได้ ช่วยให้แผลหายไว้ขึ้นอุปกรณ์ประคองข้อเท้านี้ยังสามารถใช้ร่วมกับแผ่นรองเท้าได้อีกด้วย ทั้งนี้แพทย์และนักกายอุปกรณ์จะพิจารณาอาการและเห็นว่าแผ่นรองเท้าไม่ช่วยรักษาแผลเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะเปลี่ยนมาใช้เป็นอุปกรณ์ประคองข้อเท้าแทน
3.รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
รองเท้าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องเท้าของผู้ป่วยเบาหวานจากกรวด หิน ดิน ทรายและสภาพแวดล้อมภายนอก การเลือกรองเท้าเบาหวานจึงมีสำคัญ หากเลือกรองเท้าที่ไม่เหมาะสมนอกจากจะไม่สามารถปกป้องเท้าได้แล้วยังสามารถทำให้เท้าของผู้ป่วยเกิดแผลได้อีกด้วย รองเท้าควรจะมีขนาดที่พอดีกับเท้าของคนไข้ไม่เล็กเกินไปจนบีบเท้าหรือใหญ่เกินไปทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างเท้ากับรองเท้าได้ ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเท้าผิดรูปอาจจะไม่สามารถใช้รองเท้าที่มีวางขายอยู่ในท้องตลาดได้ อาจจะต้องสั่งทำรองเท้าที่ตัดขึ้นสำหรับผู้ป่วยคนนั้น ๆ
7 วิธีเลือกรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- ควรเลือกรองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้าที่สายรัดเพราะผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีอาการชาที่เท้าทำให้บางครั้งรองเท้าหลุดได้ บริเวณนิ้วเท้าจะเปิดหรือปิดก็ได้แต่แนะนำแบบปิดนิ้วเท้ามากกว่าเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุอาจจะเดินเตะขอบทางได้อยู่บ่อยครั้ง
- เลือกรองเท้าที่มีขนาดและรูปทรงเหมาะสมกับเท้า ไม่บีบรัดจนเกินไปหรือใหญ่จนเกินไปจนทำให้เกิดแรงกดหรือการเสียดสีที่เท้าได้
- รองเท้ามีน้ำหนักเบา ด้านในควรมีรอยตะเข็บน้อยและบุบด้วยวัสดุที่นิ่ม ด้านบนของเราเท้าควรเป็นวัสดุที่ยืดหยุ่นได้ตามรูปเท้าได้และระบายอากาศได้ดี
- ไม่ควรใช้รองเท้าหูหนีบเพราะสายอาจจะเสียสีและเป็นแผลที่ง้ามนิ้วได้
- พื้นรองเท้าแข็งแรงไม่บิดงอได้ง่าย
- รองเท้าควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ยเพื่อน้ำหนักจะได้ไปลงที่ด้านหน้าเท้ามากเกินไป
- รองเท้าสามารปรับขยายได้ตามเท้า ในกรณีที่เท้ามีอาการบวมขึ้น เช่น มีเชือกหรือสายแปะ
อ้างอิง
https://www.oapl.com.au/blog/treating-diabetic-patients
https://www.aopa.org.au/documents/item/518